ไฮโดรเจนทคือธาตุตัวแรกในตารางธาตุ โดยธรรมชาติมีสถานะเป็นก๊าซ มีน้ำหนักเบาที่สุด (ในจักรวาลของเรามีปริมาณไฮโดรเจนมากถึง 75%) ด้วยน้ำหนักที่เบา และเล็กมากถึง 53 pm (พิโกเมตร) จึงทำให้มีการเคลื่อนตัว และแรงในการเคลื่อนไหวที่สูง สามารถแพร่กระจายผ่านแผ่นเหล็กได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นถ้าจะเก็บไฮโดรเจนเป็นเวลานานจึงต้องใช้ภาชนะที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไฮโดรเจน
ในความเป็นจริงได้มีการทดลองและศึกษาการบำบัดด้วยไฮโดรเจนมามากกว่า 30 ปี จนในปี พ.ศ. 2550 ศาสตราจารย์ชิงโอะ โอตะ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ตีพิมพ์บทความในระดับนานาชาติวารสารที่เชื่อถือได้ "Nature Medicines" ซึ่งพิสูจน์ว่าการสูดไฮโดรเจน 2% สามารถรักษาโรคหลอดเลือดสมองได้ เปิดบทใหม่ในการวิจัยทางการแพทย์ด้วยไฮโดรเจน ในปี 2008 ศาสตราจารย์ Sun Xuejun ทีมจากมหาวิทยาลัยการแพทย์ทหาร ได้เผยแพร่เอกสารการทำไฮโดรเจนบำบัดในประเทศเป็นครั้งแรก เป็นรายงานการวิจัยยา. ศาสตราจารย์ Sun Xuejun เป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญที่สุดและ ผู้ส่งเสริมการวิจัยยาไฮโดรเจนในจีน และเขาเป็นที่รู้จักในฐานะ "นักวิจัยคนแรกของ โมเลกุลไฮโดรเจนในจีน” การทำไฮโดรเจนมีการวิจัยมากกว่า 10 ปี จนถึงขณะนี้ บทความมากกว่า 1,200 บทความได้รับการตีพิมพ์ทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมมากกว่า 200 บทความ
นักวิจัยหลายคนพบว่าไฮโดรเจนสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นพิษได้โดยเฉพาะ เป็นอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล OH- ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระตัวไม่ดี ที่ทำลายเซลล์ของเรา (อนุมูลอิสระมีทั้งที่มีประโยชน์และทำร้ายเร่างกาย) ซึ่งมีแต่ไฮโดรเจนเท่านั้น ที่ทำลายอนุมูลอิสระตัวไม่ดีเท่านั้น ไฮโดรเจนมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนสานต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ที่ทำลายอนุมูลอิสระทั้งตัวดีและไม่ดี นอกจากจะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระแบบเลือก (selective antioxidant) กลไกการออกฤทธิ์อาจซับซ้อนมาก การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ไม่มีจุดสิ้นสุด ผลจากการใช้ไฮโดรเจนในปัจจุบันเช่นช่วยเพิ่มคุณภาพการหลับให้สูงขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการดูดซับน้ำตาล ต้านเบาหวาน หลอดเลือดแข็งตัว ข้ออักเสบ ปรับสมดุลความดันในร่างกาย ภาวะติดเชื้อ ฟื้นฟูจากการฉายแสง และเคมีบำบัด ฟื้นฟูผู้ป่วยจากมะเร็ง และจากมีกรดยูริคสูงในร่างกาย ภาวะไตเสื่อม ช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานอย่างเป็นปกติ ช่วยให้เลือดไม่ข้น เป็นต้น ถึงปัจจุบัน การวิจัยเกี่ยวกับกลไกของไฮโดรเจนก็ยังมีออกมาอยู่ตลอดเวลา
ในปัจจุบันมีการนำไฮโดรเจนเข้าร่างกาย 3 ทาง คือการดื่ม (น้ำไฮโดรเจน), การสูดหายใจ (Hydrogen Inhaler) และสุดท้ายการฉีด การฉีดต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น ในการทำบำบัดทั่วไป จะมี2 แบบเป็นหลักคือการดื่มน้ำไฮโดรเจน และสูดไฮโดรเจน ทั้ง 2 แบบไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย หรือกลุ่มตัวอย่าง และจากผู้ที่ใช้จริง มีผลไปในทิศทางเดียวกันไม่ว่าจะเป็นการดูแลตัวเองให้สุขภาพดีอยู่เสมอ อยู่ในภาวะป่วยยากแล้ว ในกลุ่มผู้ป่วยก็กลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นเป็นลำดับ เช่นโรคที่เกิดจากภาวะการเผาผลาญอาหารของร่างกายที่ผิดปกติ (metabolic syndrome อาทิ ความดันผิดปกติ เบาหวาน ไขมันสูง ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถจะก่อปัญหาต่อหลอดเลือดและหัวใจ เช่นหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ในที่สุด, ภาวะ ไขมันในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia) หรือไขมันในเลือดไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมของร่ายกาย
น้ำไฮโดรเจน คือน้ำที่อุดมไปด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจนั่นเอง น้ำปกติที่เราดื่มจะมีสูตรทางเคมีคือ H2O น้ำไฮโดรเจนคือน้ำที่มี H2O + H2 (น้ำปกติจะไม่มี H2 อยู่เพราะด้วยไฮโดรเจนมีคุณสมบัติที่เบา และระเหยได้อย่างรวดเร็ว) หรือเราอาจจะเรียกน้ำไฮโดรเจนว่าน้ำกลุ่มโมเลกุลเล็ก หรือน้ำหกเหลี่ยมนั่นเอง
https://www.i7dayshealth.com/Article/Detail/144702/น้ำไฮโดรเจน-คือ
น้ำโมเลกุลเล็กคือน้ำที่มีการจับตัวกันของโมเลกุลของน้ำ H2O เพียง 6-8 โมเลกุลเท่านั้น (น้ำปกติจะรวมตัวกันประมาณ 16-18 โมเลกุลต่อกลุ่ม) น้ำโมเลกุลเล็กสามารถทำได้หลายวิธีเช่น การใช้คลื่นเสียง การใช้แรงเหวี่ยง หรือการใช้หินแร่บางชนิด แต่ไม่มีความเสถียร กล่าวคือน้ำที่ได้จากการทำด้วยวิธีการเหล่านี้ หลังจากทำน้ำได้ระยะหนึ่งโมเลกุลของน้ำก็จะแตกตัวจากกลุ่มโมเลกุลเล็ก แล้วกลับมารวมกันกันปกติอีกครั้งเป็นกลุ่มโมเลกุลปกติที่จับตัวกัน 16-18 โมเลกุลต่อกลุ่ม ต่างจากน้ำไฮโดรเจน เพราะตัวที่ทำให้โมเลกุลของน้ำไม่เสถียร คือธาตุไฮโดรเจนนั่นเอง
เพราะน้ำกลุ่มโมเลกุลเล็ก มีขนาดโดยรวมที่เล็กกว่าน้ำดื่มปกติ ส่งผลให้การแทรกซึมเข้าร่างกายและเข้าไปยังส่วนลึกๆ ได้ดีกว่าน้ำปกติ ร่างกายเราจึงได้ประโยชน์จากน้ำโดยตรง ไม่ใช่ดื่มแล้วร่างกายดูดซับไม่ทัน น้ำก็พักอยู่ที่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อรอการระยายออกจากร่างกาย
น้ำไฮโดรเจนมีคุณสมบัติ 2 เรื่องเท่านั้น คือ 1 เป็นน้ำที่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด (เลือกจับเฉพาะตัวไม่ดี) 2 เป็นน้ำกลุ่มโมเลกุลเล็ก ด้วยคุณสมบัติ 2 ข้อนี้จากงานวิจัย สามารถส่งผลดีช่วยยับยั้ง บำบัด และลดความเสี่ยงต่อโรคร้ายมากกว่า 200 ชนิด
การใช้ไฮโดรเจนกับร่างกายคนเรามีมานานกว่า 40 ปี ความปลอดภัยของไฮโดรเจนได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลานาน และยังได้รับการพิสูจน์จากการวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับการดำน้ำว่าการหายใจเอาไฮโดรเจนความดันสูงเข้าไปในร่างกายเติดต่อกันนานๆ จะไม่ก่อให้เกิดพิษใด ๆ ต่อนักดำน้ำ จนถึงตอนนี้เกือบทุกวิชาของ การวิจัยการดำน้ำด้วยออกซิเจนเกี่ยวข้องกับปัญหาความปลอดภัยของไฮโดรเจน โดยเฉพาะสวีเดนและ ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการทดลองดำน้ำด้วยออกซิเจนและไฮโดรเจนของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ระหว่าง พ.ศ. 2531-2532 เวลาที่มนุษย์ดำน้ำด้วยก๊าซออกซิเจนและไฮโดรเจนในฝรั่งเศสนานถึง 7,200 ชั่วโมง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการดำน้ำด้วยไฮโดรเจนและออกซิเจนของมนุษย์นั้นปลอดภัย เนื่องจากการหายใจเอาไฮโดรเจนความดันสูงเข้าไปนั้นไม่เป็นพิษ ดังนั้น การได้รับไฮโดรเจนในปริมาณที่ต่ำกว่าปกติ แรงดันปกติจะปลอดภัยกว่า ด้วยการวิจัยทางชีววิทยาของไฮโดรเจนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าไฮโดรเจนเป็นเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ สหภาพยุโรปและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเผยแพร่ ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพของไฮโดรเจน แสดงว่าไม่มีไฮโดรเจนที่ส่งผลให้ เป็นพิษเฉียบพลันหรือเรื้อรังต่อร่างกายมนุษย์ภายใต้ความดันปกติ อีกทั้งคณะกรรมาธิการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ยังได้รับรองไฮโดรเจน เป็นสารที่ใช้ในการประกอบอาหารในเดือนธันวาคม 2014 GB31633-2014 "สารเติมแต่งอาหารมาตรฐานความปลอดภัยอาหารแห่งชาติ - ไฮโดรเจน" ข้อดีอีกข้อหนึ่งขอไฮโดรเจนคือ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ถ้าร่างกายมีปริมาณไฮโดรเจนเกินความจำเป็น ร่างกายเราสามารถระบายไฮโดรเจนออกมาได้เองตามธรรมชาติ โดยทางลมหายใจ เหงื่อ หรือทางปัสสาวะ
เกิดจากความไม่เข้าใจในงานวิจัยทางการแพทย์ ทั้งๆ ที่มีบทความมากมาย ที่พิสูจน์ว่าไฮโดรเจนมีผลในการรักษาโรคกว่า 200 โรคได้ แต่ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่า "ไฮโดรเจนรักษาได้100 % ถึงแม้จะมีผลในการรักษาโรคต่างๆ และยังผลจากผู้ที่ใช้จริงอีกมากมาย เพราะไฮโดรเจนจะไปกำจัดที่ต้นกำเนิดของโรค แต่ก็มีปัจจัยอีกหลายอย่าง เช่น กรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อม กิจกรรม อาหารต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันของแต่ละคน ไฮโดรเจนไม่ใช่ "ยาวิเศษ" ที่จะรักษาได้ทุกโรค ดังนั้นเราต้องหมั่นสังเกตสัญญาณต่างๆ ของร่างกายเราควบคู่กันไปด้วย
ในระยะแรก ประมาณ 3-4 อาทิตย์ แนะนำให้ดื่มวันละ 6 กระบอก (1 กระบอก ประมาณ 300 cc) เน้นการดื่มก่อนนอน และหลังการตื่นนอน ครั้งละ 1 กระบอก (ก่อนนอน ถ้ากังวลเรื่องปัสสาวะ ให้ดื่มน้ำก่อนประมาณ 30 นาที) ระหว่างวัน ให้ดื่มให้ได้ 4 กระบอก เน้นการดื่มกระจายตลอดวัน ไม่ควรดื่มครั้งละมากๆ เช่น 2-3 กระบอกติดๆ กัน ควรดื่มครั้งละครึ่งกระบอก ปริมาณไฮโดรเจนต่อวัน ไม่สมควรต่ำกว่า 5000 ppb หลังจากผ่านระยะแรกไป เราจะสามารถปรับปริมาณการดื่มได้ด้วยตัวเอง เช่นบางท่านอาจจะ 10 กระบอก บางท่านอาจจะลดเหลือเพียง 4 กระบอก ต่อวัน
น้ำไฮโดรเจนคือน้ำ แต่เป็นน้ำที่เราจะได้ประโยชน์จากการดื่มน้ำมากกว่าปกติ คุณสมบัติของไฮโดรเจนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้นน้ำไฮโดรเจน สามารถดื่มได้ทุกช่วงอายุ (ถ้ามีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนดื่ม)
สัตว์เลี้ยงก็คือสิ่งมีชีวิตที่ต้องการไฮโดรเจน เราสามารถให้สัตว์ที่เลี้ยงดื่มได้เลย
เราสามารถนำน้ำไฮโดรเจนมาล้างเพื่อเตรียมอาหารได้ และก็นำมาประกอบอาหารได้ แต่เมื่อน้ำไฮโดรเจนโดนความร้อน คุณสมบัติของไฮโดรเจนก็จะลดลงไปตามสัดส่วน และเวลา
เนื่องจากอุณภูมิมีผลต่อการระเหยของไฮโดรเจน ถ้าเป็นเครื่องดื่มร้อน ค่าไฮโดรเจนก็จะลดลงไปตามสัดส่วน แต่ถ้าเป็นน้ำอุณภูมิปกติ หรือนำไปแช่เย็น ค่าไฮโดรเจนก็จะหายไปไม่มาก
ได้ เพราะจะช่วยลดอนุมูลอิสระตรงบริเวณที่สัมผัสน้ำไฮโดรเจนได้เป็นอย่างดี
ข้อดีของน้ำไฮโดรเจนคือ ถ้าไฮโดรเจนมีปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกายเรา ร่างกายเราสามารถระบายออกมาเองได้
จะส่งผลดีเป็นเท่าตัว เพราะวิตามินซีก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (แบบไม่เจาะจง) ช่วยเรื่องปรับสมดุลร่างกาย ปรับความดัน ลดอาการเรื้อรัง ลดการป่วยจากโรคหัวใจ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดกรดยูริค เป็นต้น น้ำไฮโดรเจนจะช่วยพาวิตามินซีเข้าถึงส่วนลึกๆ ของร่างกายได้ดีกว่าปกติ
เพราะเรานำอนุมูลอิสระเข้าร่างกายเราตลอดเวลาตลอดทุกเวลาที่เราหายใจ ทุกลมหายใจเราจากอากาศจะมี 2% ของออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นออกซิเจนที่ไม่ดี (อนุมูลอิสระ) แต่ออกซิเจนนี้สามารถเปลี่ยนเป็นออกซิเจนที่ดีได้ หากร่างกายเรามีสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอ
เพราะน้ำไฮโดรเจนช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีส่งผลให้ออกซิเจนไหลเวียนดีขึ้นไปด้วย เมื่อออกซิเจนไหลไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้นทำให้เกิดการออกซิเดชั่น (มีการเผาผลาญได้มากขึ้น) อาหารที่สะสมไว้ก็เปลี่ยนเป็นพลังงานแทนที่ถูกเก็บสะสมเป็นไขมัน
น้ำไฮโดรเจนจะช่วยทำให้ระบบเผาผลาญมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในคนที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะเห็นผลได้เร็วกว่า ชัดกว่าผู้ที่ออกกำลังน้อย หรือไม่ออกเลย
ถ้าเป็นการบำบัดโรคเรื้อรัง ระยะเวลาในการบำบัดของแต่ละท่านจะไม่เท่ากัน เพราะร่างกายเราไม่เหมือนกัน แต่การดื่มน้ำในระยะแรก จะสังเกตได้ว่าการปัสสาวะจะน้อยลง การกระหายน้ำจะน้อยลง ผิวจะลื่นขึ้น ต่อมาการนอนหลับจะดีขึ้นนตื่นมาจะมีความสดชื่นมากกว่าก่อนดื่มน้ำไฮโดรเจน
ไม่เลย เพราะน้ำไฮโดรเจนจะไม่เปลี่ยนค่า pH ของน้ำที่เอามาทำ ไม่เหมือนน้ำด่างที่มีค่า pH สูง ซึ่งถ้าเราดื่มทุกวัน อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้
น้ำด่าง คือน้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 8.5 เราต้องเข้าใจก่อนว่า pH คือ Potential of Hydrogen ซี่ง ไฮโดรเจนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังปรับสภาพน้ำให้เป็นน้ำกลุ่มโมเลกุลเล็ก แต่น้ำด่างปัจจุบัน ค่า pH ที่สูงขึ้นเกิดจากการเติมสารเข้าไป โดยที่ไม่มีไฮโดรเจนอยู่ในน้ำเลย น้ำไฮโดรเจนสามารถวัดค่าได้มีหน่วยเป็น ppb part per billion (สัดส่วนในล้านส่วน)
ในระยะแรกอาจมีผลกระทบบ้างแต่ไม่มากไม่เกิน 2% ของผู้ที่ดื่มน้ำไฮโดรเจน กล่าวคือถ้าเลือดของเรามีความหนืดสูง เมื่อดื่มน้ำไฮโดรเจนเข้าไป จะทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ในบางท่าน ถ้าเลือดมีความหนืดมากๆ เมื่อการไหลเวียนดีขึ้นก็จะส่งผลให้ออกซิเจนไหลเวียนดีตามไปด้วย ผู้ที่ดื่มก็อาจมีอาการวิงเวียนศรีษะเล็กน้อย แต่อาการก็จะหายไปในเวลาไม่นาน หรืออาจจะมีอาการง่วงนอน ท้องอืด ท้องเสีย ปัสสาวะมีกลิ่น บางรายอาจจะมีผื่นขึ้นตามแขน อาการเหล่านี้ จะค่อยๆ ดีขึ้น และหายไปในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์
น้ำไฮโดรเจนสามารถเก็บได้ดีในภาชนะอลูมิเนียมเท่านั้น ถ้านำขวดอลูมิเนียมที่มีน้ำไฮโดรเจนเต็มขวด ก็สามารถเก็บในตู้เย็นได้เป็นเวลานาน
สังเกตฟองในกระบอกถ้าปริมาณฟองมีน้อยอย่างเห็นได้ชัด ให้ลองล้างฐานเครื่อง หลังจากล้างแล้ว ถ้าฟองยังออกน้อยอยู่ ก็ถึงเวลาเปลี่ยนฐานใหม่
ไฮโดรเจนไม่มีสี ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ส่งผลให้น้ำไฮโดรเจนไม่มีรสชาติที่แตกต่าง แต่สามารถรับรู้ได้ถึงความละเอียด และความนุ่มของน้ำได้
น้ำที่จะมาทำน้ำไฮโดรเจน จะต้องเป็นน้ำพร้อมดื่มเท่านั้น ยิ่งน้ำที่มีค่า TDS (สารแขวนลอยในน้ำ) ต่ำ (เช่นน้ำ RO) จะยิ่งได้ค่าไฮโดรเจนสูง
ถ้าเป็นภาชนะทั่วไป หรือในกระบอกแก้ว ค่าไฮโดรเจนจะเริ่มลดลงอย่างรวดเร็วหลังชั่วโมงที่ 4 ยกเว้นการเก็บไว้ในภาชนะอลูมิเนียม สามารถคงค่าความเป็นน้ำไฮโดรเจนได้นานกว่าปกติ มีการทดลองโดยการเติมน้ำไฮโดรเจนให้เต็มขวด (เหลืออากาศให้น้อยที่สุด) แล้วปิดฝาไว้ หลังจากนั้น 5 วันมาเปิดตรวจสอบค่าน้ำ ผลคือค่าน้ำยังเหมือนเดิม แต่เมื่อทำการเปิดเทน้ำออกมา น้ำที่เหลืออยู่ในกระบอก ค่าไฮโดรเจนจะลดลงอย่างรวดเร็ว
ควรเก็บในภาชนะอลูมิเนียม เพราะเป็นธาตุเดียวที่สามารถทำให้ไฮโดรเจนมีความเร็วช้าลง (มีความเฉื่อย) จึงสามารถเก็บน้ำไฮโดรเจนได้นานกว่าภาชนะอื่น
ORP มาจากคำว่า Oxidation Reduction Potential คือการวัดความสามารถในการเปลี่ยนถ่ายอิเล็กตรอนนั่นเอง น้ำดื่มเพื่อสุขภาพที่ดี จะต้องมีค่า ORP เป็นลบ หมายถึงความสามารถในการจับอนุมูลอิสระในร่างกายเรา ยิ่งติดลบ ยิ่งดี ค่า ORP ในน้ำดื่มควรจะอยู่ใช่ช่วง -550 ถึง -600 mV
น้ำหกเหลี่ยมก็คือน้ำกลุ่มโมเลกุลเล็ก ที่โมเลกุลของน้ำ (H2O) จับตัวกันที่ประมาณ 6 โมเลกุล (น้ำทั่วไป จับตัวกันที่ 16-20 โมเลกุลต่อหนี่งกลุ่ม) คำตอบคือ ใช่ น้ำไฮโดรเจน คือน้ำหกเหลี่ยมนั่นเอง